การปรับตัววงการการ์ตูนไทยในวันที่สิ่งพิมพ์ถดถอย

Published

September 14, 2017

Share MEE

รับทำการ์ตูน-Mr.Mee Studio-098-01

การปรับตัววงการการ์ตูนไทยในวันที่สิ่งพิมพ์ถดถอย

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่เริ่มมีการ์ตูนเข้ามาในประเทศไทย นักวาดผู้รับทำการ์ตูนและเจ้าของสำนักพิมพ์ต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงมาหลายครั้งหลายคราว ผ่านทั้งจุดรุ่งเรืองของวงการและจุดตกต่ำมาหลายที แต่ทุกครั้งก็สามารถฝ่าฟันวิกฤตเหล่านั้นมาได้ ซึ่งตอนนี้วงการการ์ตูนในบ้านเราก็กำลังพบเจอกับปัญหา ซึ่งในคราวนี้ปัญหากำลังเกิดขึ้นกับสำนักพิมพ์ต่างๆ โดยเฉพาะกับสำนักพิมพ์ที่แปลการ์ตูนอย่างถูกลิขสิทธิ์จากญี่ปุ่น

ซึ่งในปัจจุบันถ้าใครเป็นคอการ์ตูนในระยะนี้คงได้ยินเรื่องน่าใจหายของนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ที่ผูกพันกันมากว่าสิบปีทยอยเริ่มปิดตัวลงไปทีละฉบับๆ แต่เป็นความจริงหรือที่วงการการ์ตูนในประเทศไทยกำลังจะตาย ผู้ผลิตรับทำการ์ตูนต้องปรับตัวตามยุคสมัยเพื่อความอยู่รอดกันมากขึ้น

วิกฤตหนังสือการ์ตูนที่เกิดขึ้น

ซึ่งสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจเปิดใจถึงสถานการณ์หนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์ของบริษัทที่ขณะนี้เหลือแค่ 3 จาก 9 ฉบับ และมีแนวโน้มจะปิดตัวการ์ตูนรายสัปดาห์ทั้งหมด ส่วนรวมเล่มจะหยุดตีพิมพ์หลายเรื่อง และหันไปทำการ์ตูน e-book แทน  ภายหลังจากตกอยู่ในปัญหาฉบับสแกนผิดลิขสิทธิ์ออกไล่หลังญี่ปุ่นวันต่อวันทั้งยังหาอ่านได้ทั่วไปแค่ปลายนิ้ว

เช่นเดียวกับเครือเนชั่นที่เลิกพิมพ์นิตยสาร Boom แม้อยู่คู่นักอ่านมากว่า 20 ปี เมื่อความเร็วคือจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้คนหันไปอ่านออนไลน์ ด้านนิตยสาร C-Kids จากเครือสยามอินเตอร์คอมิกส์จึงแก้เกมด้วย C-Kids Express ขอตกลงกับสำนักพิมพ์ชูเอฉะของญี่ปุ่น ปล่อยฉบับภาษาไทยวันเดียวกับต้นฉบับ ชิงผู้อ่านชาวไทยกลับมาด้วยรูปเล่มคมชัดและคุณภาพการแปล ซึ่งต้องแลกมาด้วยการทุ่มทำงานภายใต้เส้นตายที่กดดันทุกสัปดาห์ ในขณะที่ต้องทำใจว่าการ์ตูนรายสัปดาห์จะไม่สร้างกำไรเทียบเท่าสมัยสิ่งพิมพ์อีกต่อไปแล้ว

"นายจะยังซื้อหนังสือการ์ตูนต่อไปใช่มั้ย" โพสต์ไวรัลที่กระจายไปในหมู่ผู้ใช้เฟซบุ๊คกว่าหนึ่งล้านสองแสนราย ยอดแชร์เกือบแปดพันครั้งพร้อมถ้อยคำให้กำลังใจมากมาย สะท้อนว่าคำตอบอาจไม่ใช่การเลิกผลิตหนังสือการ์ตูน แต่ต้องปรับตัวให้ทันพฤติกรรมผู้เสพ ตลาดที่เริ่มมีบทบาทคือ e-book และหนังสือเล่มใหญ่คุณภาพดีสำหรับสะสม แต่ก็ไม่สามารถตอบโจทย์ความอยู่รอดด้านธุรกิจในวันที่ผู้อ่านมีหลายตัวเลือก ช่องทางสื่อที่เนื้อหาสามารถข้ามกันไปมาทำให้ปัจจุบันการ์ตูนต้นฉบับกลายเป็นการลงทุนก้าวแรกเพื่อจะต่อยอดไปสู่การขายสินค้าอื่นๆในการสร้างกำไร เช่นเครือบริษัทบันไดของญี่ปุ่น ที่ปล่อยการ์ตูนบางเรื่องเช่นโคนันและกันดั้มให้ดูได้ฟรี แต่อาศัยการขายสินค้า ของสะสม ตลอดจนบัตรเข้าชมงานอีเวนต์ต่างๆทดแทน

อินเทอร์เน็ตที่เข้ามาแทนที่สื่อสิ่งพิมพ์ ส่งผลให้พฤติกรรมการอ่านและรับชมตลอดจนใช้จ่ายไปกับการ์ตูนที่ชื่นชอบเปลี่ยนแปลงแตกออกเป็นหลายรูปแบบ มีตลาดที่หลากหลายมากที่สุดตั้งแต่กำเนิดสื่อรูปแบบการ์ตูนมา และถ้าหากบริษัทที่เคยยิ่งใหญ่ในสื่อเดิมปรับตัวตามวิถีชีวิตของผู้บริโภคยุคใหม่ไม่ทันก็มีแนวโน้มที่จะถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลัง เพราะมีตัวแทนหน้าใหม่ที่พร้อมเข้ามาเติมช่องว่างในตลาดอยู่ตลอดเวลา ทว่าความนิยมในกลุ่มประชากรรุ่นที่เติบโตมากับการ์ตูนซึ่งมีแต่จะเพิ่มขึ้น ทำให้ยังเชื่อได้ว่ากลุ่มผู้เสพที่พร้อมจะทุ่มเทเงินในกระเป๋าให้กับการ์ตูนที่รักไม่ได้มีน้อยลงอย่างแน่นอน

และนี้ก็คงเป็นอีกครั้งที่ผู้ผลิตรับทำการ์ตูน ในวงการการ์ตูนไทยต้องประสบพบเจอกับปัญหา แต่อาจกล่าวได้ว่าวงการการ์ตูนไทยยังมีความหวังอยู่แต่ก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้บริโภคอย่างเราๆด้วย ที่จะคอยสนับสนุนสิ่งที่เรารักอย่างการ์ตูนเอาไว้ให้อยู่กับเราไปนานๆ ไปพร้อมๆกับการปรับตัวของเหล่าสำนักพิมพ์ต่างๆ

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : http://news.thaipbs.or.th/content/4066

Contact Mee:

Copyright 2016 Mr. Mee Studio ©  All Rights Reserved

    Reach Mee: