
ทำความรู้จักกับรูปแบบพื้นฐานของ Infographic
วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับรูปแบบพื้นฐานของการทำ infographic กัน ว่าปกตินั้นมีรูปแบบพื้นฐานกี่ประเภทอะไรบ้าง สำหรับเอาไว้ช่วยในการออกแบบสร้างสรรค์งานกัน
รูปแบบพื้นฐาน 7 แบบ
รูปแบบพื้นฐานของ Infographic มีทั้งหมด 7 แบบด้วยกัน โดยแต่ละแบบนั้นก็จะเหมาะสมกับเนื้อหาที่แตกต่างกันไป แบบไหนจะเหมาะกับเนื้อหาแบบไหน ใช้กับข้อมูลแบบไหนถึงมีประสิทธิภาพ เรามาลองดูไปพร้อม ๆ กันเลย

ทำความรู้จักกับรูปแบบพื้นฐานของ Infographic
1.รูปแบบตาราง
เหมาะกับการใช้สำหรับการเปรียบเทียบข้อมูลที่มีสองสิ่งขึ้นไป ซึ่งจะเป็นข้อมูลเชิงตัวเลขหรือข้อมูลที่มีการเปรียบเทียบให้เห็นลักษณะก่อนหลังก็ได้ ช่วยเปรียบเทียบให้ข้อมูลเหล่านั้นเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนมีประสิทธิภาพ

ทำความรู้จักกับรูปแบบพื้นฐานของ Infographic
2.รูปแบบความสัมพันธ์
เหมาะกับการอธิบายความสัมพันธ์ของข้อมูลหรือสิ่งต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งก็สามารถแบ่งออกได้หลายประเภทอย่างถ้าเป็นเรื่องของข้อมูลที่แสดงลำดับชั้นที่ไม่เท่ากันก็จะใช้รูปแบบความสัมพันธ์ “แบบพีระมิด” หรือ “แบบต้นไม้” เพื่อแสดงให้เห็นชัดเจนถึงความไม่เท่ากันเหล่านั้น ถ้าหากเป็นข้อมูลที่มีการทับซ้อนกันก็อาจจะใช้รูปแบบความสัมพันธ์ “แบบ Venn” หรือถ้าเป็นข้อมูลที่มีการเชื่อมโยงของข้อมูลต่างๆ ก็เหมาะแก่การใช้รูปแบบความสัมพันธ์ “แบบเน็ตเวิร์ค”

ทำความรู้จักกับรูปแบบพื้นฐานของ Infographic
3.รูปแบบโวลุม
เหมาะกับการเปรียบเทียบข้อมูลเชิงปริมาณหรือข้อมูลตัวเลข โดยจะมีการจัดวางกราฟิกต่างๆ ให้มีขนาดที่แตกต่างกันเพื่อความชัดเจนในการเปรียบเทียบ อย่างเช่นสิ่งที่มากกว่าใหญ่กว่าก็จะเป็นข้อมูลที่สำคัญมากกว่าเป็นต้น และมักจะมีการใช้ “กราฟิก” หรือ “Typography” ร่วมกันด้วย ให้ภาพ Infographic น่าสนใจ มีประสิทธิภาพและเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น

ทำความรู้จักกับรูปแบบพื้นฐานของ Infographic
4.รูปแบบแผนที่
เหมาะสำหรับการอธิบายข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแผนที่ แผนผังหรือลักษณะเด่นของแต่ละภูมิภาค ซึ่งเหมาะแก่การนำเอาไปประยุกต์ใช้กับงานนำเสนอจุดท่องเที่ยวต่างๆหรือแผนที่การเดินในงานแสดงต่างๆหรือข้อมูลวิชาการที่ต้องใช้แผนที่ร่วมด้วยก็ได้เช่นกัน

ทำความรู้จักกับรูปแบบพื้นฐานของ Infographic
5.รูปแบบไทม์ไลน์
เหมาะกับการสรุปเรื่องราวที่เกิดขึ้นตามลำดับเวลาก่อนหลัง ซึ่ง Infographic รูปแบบนี้ก็สามารถเอามาประยุกต์ใช้กับการเล่าข้อมูลเรื่องราวประวัติต่างๆให้เห็นลำดับได้อยากมีประสิทธิภาพและชัดเจนได้
6.รูปแบบผสมผสาน
เวลาเนื้อหาที่เราต้องการสื่อสารกับรูปแบบอื่นที่กล่าวไปข้างต้นไปด้วยกันไม่ค่อยได้ ดูไม่ค่อยเหมาะต่อกัน เราสามารถนำรูปแบบหลายๆ อันนั้นมารวมกัน ให้กลายเป็นรูปแบบผสมผสานเพื่อความเหมาะสมกับการอธิบายเนื้อหาหลายๆ แง่มุมให้ดีขึ้น ซึ่งรูปแบบผสมผสานนี้เราต้องคอยดูด้วยในขณะออกแบบว่าการผสมผสานนั้นเหมาะสมกับข้อมูลที่จะนำเสนอของเราหรือไม่ อย่างเช่นการนำรูปแบบไทม์ไลน์ผสมรวมกับรูปแบบโวลุม จะช่วยให้เห็นภาพของข้อมูลได้ว่าช่วงไหนของเวลาที่เล่านั้นๆสำคัญที่สุดบ้าง
7.รูปแบบดีไซน์เฉพาะ
รูปแบบที่ได้รับความนิยมในการใช้ออกแบบ infographic ในปัจจุบัน ซึ่งนอกจากผสมผสานรวบรวมรูปแบบต่างๆเข้าไว้ด้วยกันในการเล่าข้อมูลแล้ว ในบางกรณีก็อาจเกิดเป็นรูปแบบอื่นๆที่ไม่เหมือน 6 รูปแบบพื้นฐานที่กล่าวมาด้านบน อย่างเช่นการทำวิธีการเล่าเฉพาะเรื่องอย่างเช่นการนำการ์ตูนช่องมาประยุกต์ใช้ก็สามารถนำเอามาออกแบบผสมผสานกับงานของเราได้เช่นกัน เนื่องจากปัจจุบันการออกแบบเองก็มีความหลากหลายไม่ตายตัวสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามเนื้อหาข้อมูลที่แตกต่างกัน ทำให้งานนั้นๆมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
สรุปแล้วรูปแบบแต่ละอย่างของ infographic นั้นก็มีความเหมาะสมกับข้อมูลที่แตกต่างกันไป ดังนั้นเราจึงต้องดูความเหมาะสมด้วยเพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากที่สุด หรือจะนำรูปแบบต่างๆมาผสมผสานหรือออกแบบรูปแบบดีไซน์เฉพาะขึ้นมาก็ได้เพื่อความน่าสนใจและเป็นเฉพาะตัวมากยิ่งขึ้น