ทำความรู้จักสตูดิโอแอนิเมชั่นระดับโลก "พิกซาร์"

Published

November 9, 2017

Share MEE

แอนิเมชั่น-Mr.Mee Studio-072-01

ทำความรู้จักสตูดิโอแอนิเมชั่นระดับโลก พิกซาร์

            วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับสตูดิโอแอนิเมชั่นระดับโลก อย่าง พิกซาร์ กันว่ามีความเป็นมา เริ่มต้นความยิ่งใหญ่ของสตูดิโออย่างไรบ้าง

ที่มาของชื่อ พิกซาร์

พิกซาร์ หรือ “Pixar” เกิดจากการรวมคำในภาษาสเปนคำว่า “pixar” ที่มีความหมายว่า "เพื่อให้เกิดภาพ"  กับคำว่า “radar” ที่มาจากเสียงของเรดาห์ เมื่อรวมกันทั้ง 2 คำจึงเป็นที่มาของคำว่า "Pixar" นั่นเอง

การเริ่มต้นเส้นทางของสตูดิโอแอนิเมชั่นระดับโลก

พิกซาร์ ก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1979 ในฐานะการเป็นแผนกคอมพิวเตอร์ของบริษัทลูคัสฟิล์ม โดยที่จอร์จ ลูคัส ได้ให้ดร.เอ็ด แคตมัลด์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการของ Computer Graphics Laboratory ที่สถาบัน New York Institute of Technology เพื่อให้มาพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ให้กับอุตสาหกรรมหนัง โดยกลุ่มของดร.แคตมัลล์ซึ่งประกอบ ด้วยราล์ฟ กักเกนไฮม์และผู้กำกับ นักสร้างการ์ตูน จอห์น แลสเตอร์กับวิลเลียม รีฟส์ได้ร่วมกันสร้างงานฉากที่ใช้เทคนิคแอนิเมชั่นคอมพิวเตอร์เพื่อนำไปใช้ประกอบในภาพยนตร์หลายเรื่องในสมัยนั้น และต่อมาในปีค.ศ. 1986 ก็เกิดการแยกตัวบริษัท Pixar ออกจากลูคัสฟิล์มเพื่อมาตั้งเป็นบริษัทอิสระต่างหากอีกแห่งหนึ่ง โดยการเข้ามาซื้อของ สตีฟ จ๊อปส์ โดยซื้อหน่วยงานตรงนี้ด้วยเงินจำนวน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ

การเติบโตของ Pixar

Pixar เติบโตอย่างรวดเร็วในฐานะผู้สร้างภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่นที่ใช้เทคนิค 3 มิติ ที่เคยคว้ารางวัลมาแล้วมากมาย นอกจากนั้น Pixar ยังมีส่วนสำคัญในการพัฒนาแบบก้าวกระโดดเกือบจะทุกครั้งที่มีการนำเอาคอมพิวเตอร์กราฟิกมาใช้ในการสร้างภาพยนตร์และในฐานะที่เป็นผู้บุกเบิกงานทางด้านนี้ ก็เลยทำให้ Pixar คว้ารางวัลตุ๊กตาทองมาครองมากมายหลายตัว แม้แต่ในงานด้านโทรทัศน์ก็ยังเคยคว้ารางวัลจากวงการ โฆษณามาครองถึง 2 ครั้งด้วยกัน

จุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ Pixar และ Disney

ความสัมพันธ์ระหว่าง Pixar กับ Disney เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปีค.ศ.1987 เป็นต้นมา ซึ่งในครั้งนั้นทั้งสองบริษัทจับมือกันพัฒนางานด้านเทคนิค อันเป็นผลให้เกิดระบบที่เรียกว่า CAPS หรือที่ย่อจาก Computer Animated Production System ซึ่งใช้ในการสร้างภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่นจากคอมพิวเตอร์ โดย Disney ได้นำเอาระบบ CAPS นี้มาทดลองใช้เป็นครั้งแรกในแอนิเมชั่นเรื่อง The Little Mermaid ในปีค.ศ.1992 ซึ่งทั้ง Disney กับ Pixar ก็สามารถคว้ารางวัลตุ๊กตาทอง ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคนิคมาครองร่วมกันในฐานะที่ช่วยกันพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์กราฟิก แล้วต่อมาในปีค.ศ.1991 Disney กับ Pixar ก็ตกลงใจนำเอาระบบ CAPS มาใช้ในการสร้างแอนิเมชั่นรวดเดียว 3 เรื่องโดยประเดิมเริ่มต้นด้วยเรื่อง Toy Story

Pixar ในปัจจุบัน

ปัจจุบัน Pixar ตั้งอยู่ในย่านแคลิฟอร์เนีย มีพนักงานมากมาย โดยแบ่งออกเป็นแผนกต่างๆตัวอย่างเช่น แผนกทำภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องยาว แผนกทำโฆษณาโทรทัศน์ แผนกผลิตภัณท์ด้านซอฟแวร์ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาซอฟแวร์ของ  Pixar ถูกนำมาขายให้กับผู้บริโภคในเชิงพาณิชย์และปัจจุบันก็กลายมาเป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรมนี้ไปแล้ว ซอฟแวร์ที่เป็นที่รู้จักกันตัวอย่างเช่น Renderman ที่คว้ารางวัลด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มา ซอฟแวร์ตัวนี้ถูกบริษัทสร้างภาพยนตร์นำไปใช้สร้างสเปเชียลเอฟเฟ็กต์ที่ให้ความสมจริงเป็นอย่างมากและเป็นจุดในการพัฒนางานสเปเชียลเอฟเฟ็กต์ครั้งยิ่งใหญ่

“Luxo Jr” แอนิเมชั่นเรื่องแรกที่ได้รับการเสนอชื่อให้เข้าชิงออสการ์

แอนิเมชั่นสั้นเรื่องนี้เปิดตัวครั้งแรกที่งาน SIGGRAPH งานประชุมเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกประจำปี จนตอนนี้ “Luxo Jr” ได้กลายเป็นเหมือนเครื่องหมายที่บ่งบอกถึงความเป็นพิกซาร์และเราจะได้เห็นเจ้าโคมไฟนี้ออกมากระทืบตัว “I” ทุกครั้งก่อนที่ภาพยนตร์แอนิเมชั่นผลงานของพิกซาร์จะเริ่มฉาย

และนี่ก็เป็นประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจของสตูดิโอแอนิเมชั่นระดับโลกอย่าง พิกซาร์

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : http://guru.sanook.com/8042/ และ http://www.filmsoon.com/

Contact Mee:

Copyright 2016 Mr. Mee Studio ©  All Rights Reserved

    Reach Mee: