ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการรับทำแอนิเมชั่นกันอย่างมากมายจนเรียกได้ว่าธุรกิจแอนิเมชั่นในประเทศญี่ปุ่นนั้นเติบโตแข็งแกร่งมากๆ แต่เคยสงสัยไหมว่าทำไมปัจจุบันแอนิเมชั่นทางทีวี ที่ถูกสร้างสรรค์ออกมาใหม่ๆมีแนวโน้มที่จะเป็นแอนิเมชั่นแนวโมเอะปนเซอร์วิสแฟนๆออกมาเยอะมากขึ้นหรือบางเรื่องทำไมคุณภาพของงานถึงไม่ค่อยดีเท่าไหร่หรือทำไมเรื่องนี้ออกมาฉายในจำนวนตอนที่น้อย ซึ่งมันก็มีเหตุผลหลายๆข้อเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเรื่องของต้นทุนและผลกำไร จนทำให้ธุรกิจการสร้างสรรค์แอนิเมชั่นในญี่ปุ่นต้องพยายามดิ้นรนมากขึ้นเพื่อให้อยู่รอด ซึ่งวันนี้เราจะมาดูกันคราวๆว่ามีเหตุผลอะไรบ้างที่ส่งผลให้เกิดการปรับตัวและเปลี่ยนแปลง
1.ค่าลงทุนสูงมากกว่าการทำหนังสือการ์ตูน
การผลิตหนังสือการ์ตูนหรือมังงะในญี่ปุ่นนั้นมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างน้อย แต่สำหรับการผลิตแอนิเมชั่นนั้นแตกต่างออกไปเพราะมีค่าผลิตที่สูงกว่ามาก เพราะในการสร้างแอนิเมชั่นสักเรื่องนั้นต้องอาศัยบุคลากรจำนวนเยอะมาก ตัวอย่างเช่น โปรดิวเซอร์ ผู้กำกับ คนเขียน บท แอนิเมเตอร์ การสร้างสรรค์เพลงประกอบ และตำแหน่งอื่นๆอีก เรียกได้ว่าร่วม 100 ชีวิต บวกกับค่าใช้จ่ายของช่วงเวลาในการฉายที่สูงมาก ก็ยิ่งทำให้ต้นทุนในการผลิตทั้งหมดสูงมากยิ่งขึ้นไปอีก ทั้งหมดนี้เลยส่งผลให้แอนิเมชั่นหลายเรื่องต้องทำแบบสั้นๆแบบ 3-6 เดือนจบ
2.การที่แอนิเมชั่นหลายเรื่องเลือกฉายตอนดึกเพราะต้องการลดต้นทุน
ในสายตาของคนต่างชาตินั้นอาจจะมองว่า ญี่ปุ่นมีการสนับสนุนวงการแอนิเมชั่นเป็นอย่างดีและจริงจัง แต่ว่าคนในประเทศญี่ปุ่นเองโดยเฉพาะกับกลุ่มผู้ใหญ่ยังคงให้ความสำคัญกับละครทีวี เกมส์โชว์หรือรายการพิเศษอื่นๆมากกว่าแอนิเมชั่นอยู่ดี โดยสำหรับแอนิเมชั่นนั้นมักมีช่วงเวลาในการฉายอยู่ 3 ช่วงดังนี้
ช่วงแรก รอบเช้าจนถึงสายๆของวันเสาร์อาทิตย์โดยมักเป็นเวลาในการฉายแอนิชั่นเรื่องใหม่ๆ ซึ่งส่วนใหญ่แอนิเมชั่นที่ลงฉายก็มักเป็นแอนิเมชั่นสำหรับเด็กและแอนิเมชั่นที่ดัดแปลงมาจากหนังสือการ์ตูนดังๆเสียมากกว่า เนื่องจากช่วงเวลานี้สามารถเจาะกลุ่มเด็กๆได้เป็นอย่างดี แต่ก็ส่งผลให้ต้องมีการลดความรุนแรงของฉากต่างๆลงไปด้วย
ช่วงที่สอง รอบเย็นจนถึงค่ำของวันเสาร์อาทิตย์ เป็นช่วงเวลาของแอนิเมชั่นที่มีสปอนเซอร์รายใหญ่คอยสนับสนุนอยู่ โดยหวังเจาะตลาดกลุ่มวัยรุ่นและผู้ใหญ่เป็นหลัก ซึ่งแอนิเมชั่นที่ฉายในช่วงนี้มักคำนึงถึงการขายสินค้าอื่นๆเพื่อผลกำไรรวมถึงการขายแผ่นด้วย
ช่วงที่สาม เป็นช่วงรอบดึกของทุกวัน ประมาณ 4 ทุ่มถึงตี 3 ซึ่งแอนิเมชั่นเรื่องใหม่เกือบ 80%-90% ที่ฉายนั้นมักลงในเวลานี้ เนื่องจากช่วงเวลารอบดึกนั้น มีต้นทุนในการซื้อเวลาฉายที่ถูกกว่ามาก ทำให้ผู้ผลิตเลือกที่จะลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ลงไป
3.เวลาฉายส่งผลต่อคุณภาพของแอนิเมชั่น
วิธีแก้ปัญหาเรื่องต้นทุนสำหรับแอนิเมชั่นที่ฉายในช่วงเช้าจนถึงเย็น จะอยู่ตรงสปอนเซอร์เป็นหลัก ซึ่งถ้าเสนอจนได้สปอนเซอร์รายใหญ่ที่อาจไม่เกี่ยวกับธุรกิจการ์ตูนโดยตรง ก็จะมีช่องทางหากำไรกลับคืนมาได้ในหลายทาง ทั้งค่าลิขสิทธิ์หรือการโฆษณาให้กับทางสถานีโทรทัศน์ ซึ่งมีเงินหมุนเวียนมากพอ โดยไม่ต้องพึ่งพาการขายแผ่นก็ยังได้ ทำให้สามารถฉายได้นานเป็นปี หรืออาจต่อเนื่องกันหลายปี เพียงแต่ต้องมั่นใจว่าจะมีคนติดตามชมมากพอที่จะกระตุ้นเรตติ้งเรื่องนั้นๆ ได้ และทำให้ทางฝ่ายสปอนเซอร์พอใจ
ซึ่งแอนิเมชั่นที่ฉายต่อเนื่องเป็นเวลานานเป็นปีหรือหลายปีติดต่อกัน มักส่งผลทำให้เนื้อหาค่อนข้างยืดๆ และงานคุณภาพอาจจะด้อยลงไปหรือเผางานกันอยู่บ้าง ถึงแม้จะมีสปอนเซอร์หนุนอยู่ก็ตาม
แต่สำหรับแอนิเมชั่นที่ฉายในรอบเย็น ด้วยความที่เวลาในการฉายที่ค่อนข้างแพง จึงต้องอาศัยความช่วยเหลือจากสปอนเซอร์และการขายแผ่นด้วย จึงต้องมีการผลิตให้คุณภาพที่สูงขึ้นด้วย
ส่วนรอบดึก นั้นจะแตกต่างออกไป เพราะด้วยความที่คนดูน้อยลงทำให้เรตติ้งไม่ค่อยดีนัก สปอนเซอร์ก็น้อยลงไปด้วย ทำให้รายได้หลักๆต้องพึ่งพาการขายแผ่น และด้วยความที่มีการแข่งขันกันอยู่มาก ส่งผลให้การผลิตทั้งเนื้อหาและคุณภาพการ์ตูนต้องมีคุณภาพที่สูงกว่าแอนิเมชั่นที่ฉายในรอบอื่นๆ จึงส่งผลให้มีจำนวนตอนสั้นลงและกระชับกว่าด้วยประมาณ 12-26 ตอน
และนี้ก็เป็นเพียงเหตุผลส่วนหนึ่งที่ส่งผลต่อการรับทำแอนิเมชั่นในอุตสาหกรรมแอนิเมชั่นญี่ปุ่น ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกบางส่วนที่ส่งผลกระทบต่อวงการ ซึ่งเราจะนำมานำเสนอกันต่อในโอกาสหน้า อย่าลืมติดตามกันนะครับ
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.online-station.net/entertainment/cartoon/180