ลิขสิทธิ์ของงานศิลปะออนไลน์

Published

December 14, 2017

Share MEE

รับทำแอนิเมชั่น-Mr.Mee Studio-208-01

ลิขสิทธิ์ของงานศิลปะออนไลน์

เราทุกคนล้วนรู้จักคำว่าลิขสิทธิ์เป็นอย่างดี ซึ่งแน่นอนว่าการรับทำแอนิเมชั่น การ์ตูน การออกแบบ แฟนอาร์ต แฟนฟิคชั่น นิยาย อะไรต่างๆที่มีให้ดูให้อ่านมากมายในอินเตอร์เน็ตนั้นล้วนต้องมีลิขสิทธิ์เป็นของตัวเอง วันนี้เราจะมาจำแนกให้อ่านกันบ้างว่าลิขสิทธิ์มีอะไรบ้างและครอบคลุมอะไรบ้าง รวมถึงมีบทลงโทษอย่างไรหากมีคนที่ละเมิดและทำผิดกฎหมาย

ลิขสิทธิ์คืออะไร?

คือ สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน

ประเภทของงานที่มีลิขสิทธิ์

กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่

1.งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์

2.งานนาฏกรรม เช่น งานที่เกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงประกอบขึ้นมาเป็นเรื่องราว หรืองานทางวิทยาศาสตร์ งานศิลปะประยุกต์

3.งานศิลปกรรม เช่น งานจิตรกรรม งานประติมากรรม ภาพพิมพ์ งานสถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ภาพประกอบ หรืองาน

4.งานดนตรีกรรม เช่น คำร้อง ทำนอง การเรียบเรียงเสียงประสานรวมถึงโน้ตเพลงที่แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว

5.งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นคอมแพ็คดิสก์ (ซีดี) ที่บันทึกข้อมูลเสียง ทั้งนี้ไม่รวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์ หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น

6.งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วีดีโอเทป วีซีดี ดีวีดี แผ่นเลเซอร์ดิสก์ที่บันทึกข้อมูลประกอบด้วยลำดับของภาพหรือภาพและเสียงอันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก

7.งานภาพยนตร์ เช่น ภาพยนตร์ รวมทั้งเสียงประกอบของภาพยนตร์นั้นด้วย

8.งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น การกระจายเสียงวิทยุ การแพร่เสียง หรือภาพทางโทรทัศน์

9.งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

ผลงานที่ไม่ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์

ข่าวประจำวันและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร เช่น วัน เวลา สถานที่ ชื่อบุคคล จำนวนคน ปริมาณ เป็นต้น

  1. การนำข้อมูลดังกล่าวมาเรียบเรียงจนมีลักษณะเป็นงานวรรณกรรม เช่น การวิเคราะห์ข่าว บทความ ผลงานนั้นอาจจะได้รับความคุ้มครองในลักษณะของงานวรรณกรรม
  2. รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
  3. ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
  4. คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
  5. คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตามข้อ 3.1 - 3.4 ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น
  6. ความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้หรือทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์

ขอบเขตการคุ้มครอง

เมื่อสร้างสรรค์งานแล้วได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายลิขสิทธิ์จึงต้องรับรู้สิทธิของผู้เป็นเจ้าของว่ามีขอบเขตคุ้มครองมากเท่าไหน โดยกฎหมายกำหนดสิทธิ์ดังต่อไปนี้

  1. ทำซ้ำหรือดัดแปลง
  2. เผยแพร่ต่อสาธารณชน
  3. ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
  4. ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
  5. อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิดังกล่าวข้างต้น โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้

การละเมิดลิขสิทธิ์มีโทษตามกฎหมายอย่างไร

การละเมิดลิขสิทธิ์มีโทษทางอาญาทั้งจำคุกและโทษปรับแล้วแต่กรณี และเจ้าของลิขสิทธิ์ยังมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่งด้วย โทษทางอาญา เช่น การทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และหากทำเพื่อการค้าต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

นี่คือทั้งหมดในลิชสิทธิ์ส่วนของงานอาร์ตในอินเตอร์เน็ตที่รวมถึงงานหนัง แอนิเมชั่น การ์ตูน การออกแบบ นิยาย และอื่นๆอีกด้วย สำหรับแฟนฟิคชั่นหรือแฟนอาร์ตนั้นถือว่าเป็นการ ‘ละเมิดลิขสิทธิ์’ เนื่องจากมีการอ้างอิงถึงต้นฉบับแต่ที่ทางผู้ผลิตไม่ได้มาฟ้องร้องอะไรก็เป็นเพราะว่ามันได้ไม่คุ้มเสียนั่นเอง หากเขามาไล่ฟ้องก็จะเสียฐานแฟนคลับไปรวมถึงงานแฟนอาร์ต แฟนฟิคชั่นถือเป็นการโปรโมทด้วยนั่นเอง ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องระวังเรื่องการนำภาพหรืองานอื่นๆในกูเกิ้ลมาใช้ในการรับทำแอนิเมชั่นหรืองานต่างๆให้ดี เพราะหากเราทำมาใช้ในการค้าขายเชิงพาณิชย์เมื่อใดอาจจะได้รับหมายศาลมาถึงบ้านโดยไม่รู้ตัวได้

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
http://tuipi.tu.ac.th/tuip04.php

http://www.ipthailand.go.th

 

Contact Mee:

Copyright 2016 Mr. Mee Studio ©  All Rights Reserved

    Reach Mee: