คนที่สนใจและกำลังเริ่มอยากจะรับทำแอนิเมชั่น วันนี้เรา ขอนำเสนอเรื่องของตำแหน่งหน้าที่ในการทำงานแอนิเมชั่นว่ามีอะไรกันบ้าง เพื่อให้คนที่สนใจได้สำรวจตัวเองได้ว่าอยากไปทำแอนิเมชั่นในตำแหน่งหน้าที่อะไร หน้าที่ไหนดูเหมาะสมกับเรากันบ้าง โดยเราจะแบ่งตำแหน่งหน้าที่การทำงานต่างๆออกตามช่วงกระบวนการทำงานดังต่อไปนี้
Preproduction กระบวนการออกแบบ เตรียมงานสร้าง
ตำแหน่งหน้าที่การทำแอนิเมชั่นในกระบวนการนี้ต้องการคนที่มีความสามารถที่ค่อนข้างแตกต่างกันออกไปค่อนข้างมาก แต่ว่าทุกๆคนย่อมต้องมีความคิดสร้างสรรค์และพร้อมที่จะทำงานกันเป็นทีมเหมือนกัน ยิ่งคนที่ทำงานในส่วนนี้เตรียมงานไว้ดีละเอียด รอบคอบมากเท่าไหร่ ส่วนกระบวนการถัดไปก็จะยิ่งทำงานได้ง่ายยิ่งขึ้นเท่านั้น
1.เขียนบท
ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งเริ่มต้นขั้นตอนของกระบวนการทำงานที่มีความสำคัญอย่างมากตำแหน่งหนึ่ง ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ ประสบการณ์และความชำนาญมากพอสมควรเพราะว่า แอนิเมชั่นเรื่องนั้นๆจะสนุกหรือไม่ ดูแล้วเข้าใจรึเปล่า ผู้ชมจะมีอารมณ์ร่วมกับงานหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับขั้นตอนการเขียนบทนี้
2.ออกแบบตัวละคร
ตำแหน่งนี้มีหน้าที่ในการออกแบบสร้างสรรค์ตัวละครและลงรายละเอียดของตัวละครแต่ละตัว โดยต้องกำหนดลักษณะต่างๆทางกายภาพตัวละครให้คนอื่นๆที่ทำงานร่วมกันในทีมของเราเห็นและเข้าใจได้ง่าย ทำงานออกมาไม่ผิดเพี้ยน
3.ออกแบบฉาก
ตำแหน่งนี้มีหน้าที่คล้ายๆกับการออกแบบตัวละครเพียงแต่เปลี่ยนมาทำการออกแบบฉากแทน
4.วาดสตอรี่บอร์ด
คือตำแหน่งในการนำบททั้งหมดที่เสร็จแล้ว มาทำเป็นภาพเพื่อกำหนดมุมมอง แสดงวิธีการเล่าเรื่องราว กำหนดรายละเอียดต่างๆอย่างคร่าวๆ รวมถึงแสดงให้เห็นความต่อเนื่องของภาพ
Production กระบวนการในการสร้างสรรค์และผลิตแอนิเมชั่น
ในกระบวนการนี้แต่ละตำแหน่งมีหน้าที่ในการนำความคิดสร้างสรรค์ในกระบวนการ Preproduction มาผลิตให้ออกมาเป็นจริงเป็นรูปเป็นร่าง ซึ่งแต่ละตำแหน่งก็ต้องอาศัยความละเมียดละไม ใส่ใจในรายละเอียด ไม่แพ้หน้าที่อื่นๆ
1.วาง layout
สำหรับตำแหน่งนี้มีหน้าที่ในการวาดภาพลงสีและกำหนดมุมภาพ รวมถึงวางตำแหน่งของตัวละครอย่างละเอียดและวางลายละเอียดในแต่ละช็อตว่าตัวละครจะเคลื่อนไหวอย่างไรมีการแสดงอารมณ์อย่างไร ให้ชัดเจน
2.วาดตัวละคร
ตำแหน่งในการวาดภาพและลงสีตัวละครทั้งหมด ให้ตรงตามที่วางรายละเอียดเอาไว้ ซึ่งจะต้องวาดท่าทางหลักๆเอาไว้ให้กับคนที่ทำหน้าทำแอนิเมชั่นสามารถทำงานต่อได้
3.วาดฉาก
ตำแหน่งในการวาดภาพและลงสีฉากทั้งหมด ให้ตรงตามที่วางรายละเอียดเอาไว้
4.ทำแอนิเมชั่น
เป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ในการทำให้ตัวละครและสิ่งต่างๆที่สามารถเคลื่อนไหวและแสดงอารมณ์ได้ในฉากนั้นให้เคลื่อนไหวได้ โดยเป็นตำแหน่งที่ต้องใส่ใจรายละเอียดในการทำงาน เนื่องจากหากทำไม่ดีอย่างเช่นทำการเคลื่อนไหวบนใบหน้าเพื่อแสดงอารมณ์ได้ไม่ดี ภาพแอนิเมชั่นที่ออกมาก็จะไม่ค่อยมีอารมณ์ร่วมเปรียบกับนักแสดงจริงก็เหมือนกับนักแสดงที่แสดงได้แข็งๆ
Postproduction กระบวนการของการเก็บรายละเอียดงาน ตัดต่อ ทำดนตรีประกอบหรือเสียงพากย์ต่างๆเพิ่มเติมให้กับแอนิเมชั่น
ในกระบวนการนี้เป็นกระบวนการนำงานผลิตจากทางฝ่าย Production มาตกแต่งแก้ไขให้สวยงามและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
1.compositing
ตำแหน่งที่ทำการนำภาพตัวละครที่ถูกทำแอนิเมชั่นเคลื่อนไหวแล้วมารวมเข้ากับฉาก และตกแต่งแสง สีเพิ่มเติมเข้าไปให้มีความสวยงามและเสริมให้ได้อารมณ์มากยิ่งขึ้น
2.ตัดต่อ
มีหน้าที่ในการนำช็อตต่างๆที่ประกอบรวมกันทั้งหมดและตกแต่งเรียบร้อยแล้ว มาตัดต่อรวมกัน
3.ทำดนตรีและเสียงประกอบ
ตำแหน่งหน้าที่สุดท้ายในกระบวนการสร้างสรรค์แอนิเมชั่น โดยเป็นอีกหน้าที่หนึ่งที่มีความสำคัญเนื่องจากดนตรีและเสียงประกอบที่ดีสามารถช่วยส่งเสริมให้งานแอนิเมชั่นของเรามีอารมณ์ที่แสดงออกดียิ่งขึ้น ทำให้ผู้ชมสามารถเข้าถึงอารมณ์ที่ต้องการสื่อสารได้ดีกว่าเดิม ไม่ว่าจะสนุกสนาน เศร้า โกรธหรือน่ากลัว
นี้ก็คือหน้าที่โดยรวมของการทำแอนิเมชั่นที่คนที่สนใจกำลังจะรับทำแอนิเมชั่น ควรทราบและต้องลองสำรวจตัวเองดูกันว่าเหมาะสมกับตำแหน่งใดในกระบวนการทำงาน