การผลิตรับทำโฆษณาในไทยเดี๋ยวนี้มักจะมีอะไรแปลกๆแบบที่มีความเวอร์วังเกินจริงผิดปกติ ทั้งอาหาร ยา เครื่องสำอาง หลายๆอย่างในไทยมักมีการโฆษณาเกินจริง ซึ่งในต่างประเทศนั้นมีกฎหมายควบคุมอย่างรุนแรง ผู้บริโภคสามารถฟ้องร้องได้หลายสิบล้านเลยทีเดียว วันนี้เราเลยจะมาอธิบายความเป็นโฆษณาเกินจริงและกฎหมายข้อบังคับกันว่ามีอะไรอย่างไรบ้าง
โฆษณาเกินจริงคืออะไร?
ก็คือโฆษณาที่พูดถึงสรรพคุณเกินจริงของสินค้านั่นเอง รวมถึงภาพในจอสวยงามแต่ของจริงกลับเล็กนิดเดียวหรือไม่มีนั่นไม่มีนี่ขาดๆหายๆไปแต่ราคาเท่าเดิม สินค้าประเภทที่จะเห็นบ่อยก็เช่นครีมผิวขาวทั้งหลายที่โฆษณาขาวภายใน 3 วัน ซึ่งคนเราถ้าผิวไม่ได้ขาวตั้งแต่เกิดก็คงจะยากหากจะขาวขึ้นมา สินค้าอีกแบบคืออาหารนั่นเองทั้งปริมาณที่ได้น้อยลงเมื่อซื้อจริงและไหนจะขนาดที่เล็กด้วย อย่างเบอเกอร์ยี่ห้อหนึ่งจะเห็นได้ชัดเลยว่ามีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงในใบโบรชัวร์กับของจริง อีกประเภทก็จะเป็นของใช้ก็เช่นผงซักฟอกที่โฆษณาว่าแค่ป้ายคราบสกปรกก็ขาวแล้ว แต่ที่จริงขนาดแช่ไว้ข้ามคืนเอาออกมาขยี้คราบนั้นยังไม่ออกเลย
ซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้คิดว่าแล้วเราจะเชื่อได้อย่างไรว่าสินค้านั้นดีจริงหรือไม่?
ลองใช้เท่านั้นที่ช่วยคุณได้สำหรับปัญหานี้เพราะมีเพียงตัวเองเท่านั้นที่จะรู้ว่ามันดีหรือไม่ดีไม่ใช่คำพูดของคนอื่นรวมถึงพวกโฆษณานี้ส่วนมากก็เชื่อไม่ได้หากเป็นโฆษณาของไทยแล้ว ส่วนมากก็จะเกินจริงมากๆแล้วเขียนไว้ข้างหลังผลิตภัณฑ์เอาว่าสินค้านี้ใช้รูปเพื่อการโฆษณาหรือบางคนจะใช้ไม่ได้ผลเพื่อป้องกันการโดนฟ้องนั่นเอง
คราวนี้เรามาดูข้อกฎหมายกันบ้างว่าครอบคลุมอย่างไรบ้าง
กฎหมายด้านการโฆษณายา
พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510
“ผู้อนุญาต” หมายความว่า
- เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้ซึ่งคณะกรรมการอาหารและยามอบหมาย สำหรับการอนุญาตผลิตยา หรือการนำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร
- เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยามอบหมาย สำหรับการขายยาในกรุงเทพมหานคร
- ผู้ว่าราชการจังหวัดสำหรับการอนุญาตขายยาในจังหวัดที่อยู่ในเขตอำนาจนอกจากกรุงเทพมหานคร “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการยาตามพระราชบัญญัตินี้
ก. ข้อห้ามและระเบียบปฏิบัติ
พระราชบัญญัติยาได้วางบรรทัดฐานในการโฆษณาขายยาไว้ในหมวด 11 การโฆษณายามี ทั้งข้อห้าม แนวปฏิบัติ และบทลงโทษ หากมีการฝ่าฝืนตามบทบัญญัติ ดังนี้
- การโฆษณาขายยาจะต้อง
1.1 การโฆษณาจะต้องคำนึง
(1) ไม่เป็นการโอ้อวดสรรพคุณยาหรือวัตถุอันเป็นส่วนประกอบของยาว่าสามารถบำบัด บรรเทา
รักษา หรือป้องกันโรค หรือความเจ็บป่วยได้ อย่างศักดิ์สิทธิ์ หรือหายขาด หรือใช้ถ้อยคำอื่นใดที่มี
ความหมายทำนองเดียวกัน
(2) ไม่แสดงสรรพคุณยาอันเป็นเท็จหรือเกินความจริง
(3) ไม่ทำให้เข้าใจว่าวัตถุใดเป็นตัวยาหรือส่วนประกอบของยา ซึ่งความจริงไม่มีส่วนประกอบหรือวัตถุ
นั้นในยาหรือมีแต่ไม่ทำที่เข้าใจผิด
(4) ไม่ทำให้เข้าใจว่าเป็นยาทำให้แท้งลูก หรือยาขับระดูอย่างแรง
(5) ไม่ทำให้เข้าใจว่าเป็นยาบำรุงกามหรือคุมกำเนิด
(6) ไม่แสดงสรรคุณอันตราย หรือยาคุมพิเศษ
(7) ไม่มีการรับรองหรือยกย่องสรรพคุณยาโดยบุคคลอื่น
(8) ไม่แสดงสรรพคุณยาว่าสามารถบำบัด บรรเทา รักษาหรือป้องกันโรคหรืออาการของโรคที่รัฐมนตรี
ประกาศตามมาตรา 77
1.2 ห้ามมิให้โฆษณาขายยาโดยไม่สุภาพหรือการร้องรำทำเพลง หรือแสดงความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย(มาตรา 89)
1.3 ห้ามมิให้มีการโฆษณาขายยาโดยวิธีแถมพกหรือออกสลากรางวัล (มาตรา 90)
- วิธีปฏิบัติในการโฆษณา การโฆษณาขายยาทางวิทยุกระจายเสียง เครื่องขยายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทางฉายภาพหรือทางภาพยนตร์หรือทางสิ่งพิมพ์จะต้อง
(1) ได้รับอนุญาตข้อความเสียง หรือภาพที่ใช้ในการโฆษณาจากผู้อนุญาต
(2) ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ผู้อนุญาตกำหนด (มาตรา 88 ทวิ)
- อำนาจการสั่งการ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยามีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้ระงับการโฆษณาขายยาที่เห็นว่าเป็นการโฆษณาโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ได้ (มาตรา 90 ทวิ)
ข. บทกำหนดโทษ
หากผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้าม แนวทางปฏิบัติจะต้องได้รับโทษตามกฎหมาย ดังนี้
(1) ผู้ใดโฆษณาขายยาโดยฝ่าฝืนมาตรา 88 มาตรา 88 ทวิ มาตรา 89 และมาตรา 90 ต้องระวางโทษ
จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 124)
(2) ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการโฆษณาขายยาของคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งสั่งตามมาตรา 90
ทวิ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับและให้ปรับ
รายวันอีกวันละห้าร้อยจนกว่าจะปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว (มาตรา 124 ทวิ)
กฎหมายด้านการโฆษณาอาหาร
พระราชบัญญัติว่าด้วยอาหาร พ.ศ. 2522
ข้อห้ามและระเบียบปฏิบัติ เพื่อควบคุมให้มีการโฆษณาไม่เป็นพิษภัยต่อผู้บริโภค พระราชบัญญัตินี้จึงได้กำหนดไว้ว่า
1.ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จ หรือเป็นการหลอหลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร ( มาตรา 40 )
- ผู้ใดประสงค์จะโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารทางวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ ทางฉายภาพ หรือทางหนังสือพิมพ์หรือหนังสือพิมพ์อื่นหรือด้วยวิธีอื่นเพื่อประโยชน์ในทางการค้า ต้องนำเสียง ภาพ ภาพยนตร์ หรือข้อความที่จะโฆษณาดังกล่าวนั้นให้ผู้อนุญาตตรวจพิจารณาก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะโฆษณาได้ ( มาตรา 41 )
3.เพื่อพิทักษ์ประโยชน์ และความปลอดภัยของผู้บริโภค ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
3.1 ให้ผู้ผลิตนำเข้าหรือจำหน่ายอาหาร หรือผู้ทำการโฆษณาระงับการโฆษณาอาหารที่เห็นว่าเป็นการโฆษณาโดยฝ่าฝืนมาตรา 41
3.2 ให้ผู้ผลิตผู้นำเข้าหรือจำหน่ายอาหาร หรือผู้ท าการโฆษณาอาหาร ระงับการผลิตการนำเข้า การจำหน่าย หรือการโฆษณาอาหารที่คณะกรรมการเห็นว่าอาหารดังกล่าวไม่มีคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณตามที่โฆษณา ( มาตรา 42 )
ก. บทกำหนดโทษ หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องรับโทษ ดังนี้
1 ผู้ใดโฆษณาอาหารโดยฝ่าฝืนมาตรา 40 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ( มาตรา 70 )
2 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 41 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท ( มาตรา 71 )
3 ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อนุญาตซึ่งสั่งตามมาตรา 42 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสอง ปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับเป็นรายวันอีกวันละไม่น้อยกว่าห้าร้อยบาทแต่ไม่เกินหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว ( มาตรา 72 )
กฎหมายด้านการโฆษณาวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
พระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท พ.ศ. 2518
มาตรา 48 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเพื่อการค้า ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์เว้นแต่
(1) การโฆษณาซึ่งกระทำโดยตรงต่อผู้ประกอบอาชีพ เวชกรรม ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้นหนึ่งในสาขาทันตกรม เภสัชกร หรือผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง
(2) เป็นฉลากหรือเอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ที่ภาชนะ หริหีบห่อบรรจุวัตถุออกฤทธิ์ วัตถุออกฤทธิ์ หมายความว่า วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ที่เป็นสิ่งธรรมชาติหรือที่ได้จากสิ่งธรรมชาติ หรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่เป็นวัตถุสังเคราะห์ ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เอกสารกำกับวัตถุออกฤทธิ์ หมายความว่ากระดาษหรือสิ่งอื่นใดที่ทำให้ปรากฏความหมายด้วยรูป – รอย ประดิษฐ์ หรือข้อความใดๆ อันเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ ซึ่งสอดแทรกหรือรวบรวมไว้กับภาชนะ หรือหีบห่อบรรจุวัตถุออกฤทธิ์ ( มาตรา 4 )
นี่คือข้อกฎหมายทั้งหมดเกี่ยวกับผู้บริโภคอย่างเราๆที่ต้องรู้ไว้เพื่อดูแลตัวเองสำหรับโฆษณาเหล่านี้ ในคำว่าโฆษณาเกินจริงนี้ก็มีหลายระดับสำหรับรับได้และรับไม่ได้ ในส่วนมากนั้นก็ยังพอรับได้จึงไม่ค่อยมีปัญหาอะไร แต่บางอย่างนั้นนอกจากจะโฆษณาเกินจริงแล้วยังใช้สิ่งที่เป็นอันตรายมาทำอีกอย่างเช่นพวกครีมผิวขาวที่มีสารปรอทเหล่านั้นก็ส่งผลเสียต่อผู้บริโภคด้วยมากกว่าผลดีที่โฆษณาเสียอีก และอีกอย่างผู้ผลิตรับทำโฆษณาก็ไม่ควรทำโฆษณาที่เกินจริงจนเกิดเป็นผลเสียต่อผู้บริโภคด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
https://sites.google.com/site/kdhmaylaeacriythrrmsuxmwlchn/kdhmay-dan-kar-khosna