Tie-in ความหมายตรงๆตัวเลยคือการรับทำโฆษณาโดยการแทรกโฆษณาแฝงเข้าไปกับตัวเรื่อง อย่างเช่นหนัง ซีรีส์ ซิทคอมเป็นต้น โดยการ Tie-in นี้ทางที่ดีควรจะทำให้มันแนบเนียนไม่ดูขัดตาจนเกินไปไม่งั้นจะทำให้คนดูไม่พอใจได้ แต่ถ้าเห็นน้อยไปก็ทำให้สปอนเซอร์ไม่พอใจอีก จนเกิดความลำบากใจของคนทำที่ไม่รู้จะยังไงดีสิ่งที่ควรทำแน่นอนคือการหาความพอดีและความแนบเนียนในการแทรกลงมาให้คนดูไม่รู้สึกอึดอัดใจมากนัก โดยหลักของการ Tie-in นั้นแบ่งเป็นสามข้อตามนี้
Product Placement
คือ การที่สินค้าวางอยู่เฉยๆและมักใช้ในฉากร้านขายสินค้า ซึ่งการ Tie-in แบบนี้ส่วนมากจะใช้ในสถานการณ์ที่สินค้าตั้งอยู่ในร้านค้าหรือวางไว้บนโต๊ะกินข้าวประกอบฉาก แต่มักจะเห็นอยู่ในร้านขายของเสียมากกว่าอย่างเช่นร้านขายของชำหรือร้านอาหารที่มีคนผ่านไปผ่านมาเยอะๆ
Product Movement
คือมีนักแสดงหยิบ จับ สวมใส่ สินค้านั้นๆให้เห็นบ้างอย่างเช่นการหยิบจับโทรศัพท์มือถือ เครื่องดื่ม อาหาร เสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์ต่างๆ แม้แต่รถก็ถือว่าใช่เช่นกัน
Product Experience
คือการที่นักแสดงพูดถึงสรรพคุณของสินค้าออกมาตรงๆเลย อย่างเช่นการพูดถึงกระดาษทิชชู่ที่นุ่มสบายจนใช้ซับหน้าได้เลย หรือแม้แต่การพูดถึงร้านอาหารที่กำลังจะไปอย่างเช่น ร้านนี้อาหารอร่อยมากๆ แถมบริการก็ดีก็ถือว่าเป็นการ Tie-in กันแบบตรงๆเลยทีเดียว
ซึ่งจริงๆแล้วสปอนเซอร์นั้นก็ไม่ถือว่าเป็นรายได้หลักเพียงแค่ต้องการรักษามิตรภาพกันไว้เสียมากกว่าจึงต้องมีการ Tie-in สินค้าในรายการ หนัง หรือซีรีส์ต่างๆตามความเหมาะสม แต่ในบางรายการนั้นมีความไม่แนบเนียนเสียเลยเช่นอยู่ๆก็หยิบกล่องกระดาษทิชชู่มาส่งให้กันเสียอย่างนั้น หรือไม่ก็นั่งๆพูดกันอยู่ก็ยื่นส่งขนมให้กันเสียอย่างนั้นซึ่งการทำให้เห็นชัดเกินไปก็ส่งผลให้คนดูอึดอัดใจในช่วงนั้นหรือถึงขั้นอาจจะไม่ชอบสินค้านั้นไปเลยซึ่งมันก็ส่งผลเสียมากกว่าผลดีแน่นอน
จากโฆษณานี้ก็ไม่ถือว่าเป็น Tie-in เสียทีเดียวเพราะเป็นโฆษณาของตัวผลิตภัณฑ์เองเลยแต่ก็เอามาแชร์ให้ดูถึงความแนบเนียนในการสอดแทรกสินค้าลงไปในเนื้อเรื่องได้อย่างดีเยี่ยมและยังทำให้ผู้รับชมติดภาพจำและเกิดความรู้สึกทางด้านบวกแก่สินค้าและตัวโฆษณาเองอีกด้วย ถือว่า ไม่ขายตรง(Hard sell)จนเกินไป
การทำให้โฆษณา Tie-in นั้นดีที่สุดคือการเล็งให้ตรงเป้าหมายที่เราต้องการ อย่างเช่นหากต้องการขายโทรศัพท์มือถือที่มีคุณสมบัติเน้นทางด้านกล้องก็ใส่ฉากที่ใช้กล้องถ่ายรูปเข้าไปในฉากเป็นต้น หรือการดื่มเครื่องดื่มมึนเมาในฉากที่ตัวละครนั้นกำลังเสียใจก็ถือว่าตรงเป้าหมายเช่นกันเพราะเราทำให้ผู้รับชมได้รับความรู้สึกว่าสิ่งที่เรากำลังโฆษณานั้นมันดีนะ น่าสนใจโดยที่เราไม่ได้ยัดเยียดมากเกินไปจนทำให้รู้สึกอึดอัดนั่นเอง
ตัวอย่างการโฆษณาเนียนๆของหนังใหญ่
แบรนด์ที่เห็นได้ชัดเลยคือรถ Audi ที่จะเห็นแทรกตัวเงียบๆเนียนๆในหนังของ Marvel เกือบทุกเรื่อง ทั้งรถส่วนตัวของโทนี่ สตาร์คทุกคัน รถในฉากไล่ล่าของกัปตันอเมริกา หรือบางทีก็โผล่แวบๆในฉากต่อสู้ของเหล่าฮีโร่ทั้งหลาย
รวมๆแล้วหลักของการรับทำโฆษณา Tie-in ให้เนียนคือ หนึ่งอย่า Hard Sell สองคือต้องตรงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ เท่านั้นการทำ Tie-in ให้คนดูไม่รู้สึกขัดหูขัดตาก็ทำได้แล้ว แต่สิ่งที่ต้องระวังก็คือไม่ควรพูดถึงตัวสินค้าบ่อยๆนักเพราะการพูดถึงสินค้านั้นจะขัดหูขัดตาได้ง่ายกว่าการแพนภาพไปให้เห็นนั่นเอง
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก :
https://ipg-connect.com/th/tie-in/
https://positioningmag.com/10558