แทบเป็นเรื่องที่ปฎิเสธไม่ได้เลย ว่าโดยมากคนส่วนใหญ่เวลาอ่านอะไรที่มีตัวอักษรมากๆ จะเกิดอาการเบื่อ และมันเป็นเรื่องที่น่าเบื่อและยากมากยิ่งขึ้นเมื่อจะต้องอ่านข้อมูลที่เป็นตัวเลขหรือค่าสถิติจำนวนมากๆ ซึ่งก็มีวิธีการแก้ปัญหานี้ได้ไม่ยากก็คือ การใช้ภาพประกอบ กราฟหรือแผนภูมิ มาย่อยข้อมูลของเราให้ดูสวยงาม น่าอ่านมากยิ่งขึ้น หรือที่เราเรียกกันว่า infographic นั่นเอง
โดยปกติ infographic ประเภทภาพ จะนำเสนอข้อมูล และกราฟเป็นหลัก ไม่ว่าอย่างไรก็ตามมันก็เป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่ infographic แบบดั้งเดิม จะประกอบไปด้วยข้อความที่ไม่สามารถเข้าใจได้และยาวมาก กราฟจำนวนมหาศาลและแผนภูมิที่ดูซับซ้อน ทั้งหมดนี้เราสามารถนำข้อมูลที่ถูกย่อยแล้วมาทำให้เข้าใจง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดูสนุกมากขึ้นโดยการประยุกต์ตัดถอนข้อมูลให้สั่นลงเหลือเฉพาะแต่ข้อมูลที่สำคัญจริงๆหรือจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาใส่การเคลื่อนไหวลงไปในงานใส่เสียงประกอบดีๆเข้าไปช่วยก็จะส่งผลให้งานมีความน่าสนใจแก่ผู้รับชมมากยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างด้านล่าง
REALISING A GOLDEN OPPORTUNIY | VISA
https://www.youtube.com/watch?v=Jv0wbS8RXOA
คลิปวิดีโอนี้เป็นตัวอย่างที่ดีตัวหนึ่งในการใช้วีดีโอ infographic แบบเคลื่อนไหวสำหรับการถ่ายทอดข้อมูลให้ผู้ชม โดยเปิดตัวในงานที่กรุงลอนดอนปี 2012 เนื้อหาเป็นเรื่องเกี่ยวกับ รายงานผลกระทบจากโอลิมปิก ต่อ VISA London
จะได้อะไรจากการใช้ Video Infographic
ทันทีที่คุณได้ยินแนวคิดเรื่องการใช้วิดีโอสื่อสารแทนภาพ หลายคนคงคิดว่าทำไมถึงต้องทำแบบนั้น ทำไมถึงต้องใช้เวลาให้มากขึ้น ใช้เงินที่มากขึ้นเพื่อเปลี่ยนสิ่งที่มันสามารถทำงานได้อยู่แล้ว ให้เป็นอีกอย่างที่ทำงานได้เหมือนกัน แต่คุณแน่ใจหรือเปล่าว่าข้อมูลภาพที่คุณเชื่อถือยังสามารถทำงานได้ดีอยู่ แล้วถ้าเราเปลี่ยนข้อมูลภาพให้เป็นข้อมูลแบบวีดีโอ คุณจะได้อะไรจากมันบ้าง
- แปลงข้อมูลบางอย่าง ที่ไม่มีประสิทธิภาพเข้าใจได้ยากให้เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น
- ทำข้อมูลให้เชื่อมโยงกันมากขึ้น มีลำดับขั้นให้ผู้ชมเข้าใจไปตามลำดับที่วางเอาไว้
- บอกเล่าเรื่องราวได้ชัดเจนและตรงประเด็นมากขึ้น
They say an image is worth of a thousand words; a moving image has 25 pictures per second
หลายๆคนเคยพูดไว้ว่า “ภาพหนึ่งภาพมีความหมายมากกว่าคำพูด 1000 คำ” แล้วภาพเคลื่อนไหวที่มี 25 ภาพต่อวินาทีล่ะ
ความแตกต่างของ infographic แบบภาพนิ่ง และเคลื่อนไหว
เพราะฉะนั้นคำถามของเราจึงไม่ควรถามว่าอินโฟกราฟิกภาพนิ่งหรือแบบเคลื่อนไหวอันไหนดีกว่ากัน แต่ควรถามว่ามันต่างกันอย่างไร
1.แน่นอนว่าการผลิตงานมันต้องใช้เวลา infographic แบบเคลื่อนไหวมักจะใช้เวลาในการผลิตมากกว่าแบบภาพนิ่ง 2.แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสามารถใส่ข้อมูลทุกอย่างลงไปในวิดีโอได้ บางอย่างสื่อสารได้ดีกว่าผ่านกระดาษเหมือนกัน
3.แนวคิดของวิดีโอ infographic ไม่ใช่การเข้ามาแทนที่ infographic แบบภาพนิ่ง แต่เป็นตัวช่วยเสริมที่ช่วยให้ข้อมูลบางส่วนที่เข้าใจยากมากเข้าถึงได้ง่ายขึ้น เพราะฉะนั้นควรเลือกส่วนที่ยากที่สุดมาทำให้มันง่ายขึ้นจะดีกว่า
4.วิดีโอที่ยาวเกินไปก็เหมือนกับภาพนิ่งที่มีข้อมูลอยู่มาก โดยมีแนวโน้มที่จะถูกปิดก่อนที่จะถูกดูไปจนถึงข้อมูลสำคัญ
ตัวอย่างอื่นๆ ที่น่าสนใจของวิดีโอ infographic
EVOLUTION OF F1
Infographic ของ Rufus Blacklock นำเสนอข้อมูลของวิวัฒนาการของรถ F1
https://www.youtube.com/watch?v=HrsoPM2d9B0
A MARKETER’S GUIDE TO PINTEREST
คู่มือนักการตลาด สำหรับ Pinterest จาก MDG Advertising เสนอข้อมูลเทรนใหม่ๆ ในรูปแบบ infographic ที่ว่าด้วยเรื่องกสนพินก่อนชนะก่อน
https://www.youtube.com/watch?v=AfyByLwiIe8
ทั้งนี้ทั้งนั้นเวลาที่อยากได้งาน infographic หรือรับทำ infographic มาต้องสังเกตุให้ดีๆว่าแบบไหนที่เหมาะสมกับการใช้สื่อสารมากกว่ากัน