
ขายหัวเราะ การ์ตูนไทยในหัวใจใครหลายคน
เราๆน่าจะคุ้นเคยกับการ์ตูนขายหัวเราะกันเป็นอย่างดีเพราะเป็นหนึ่งในการผลิตสร้างสรรค์รับทำการ์ตูนไทยในยุคแรกๆเลยก็ว่าได้ซึ่งอุดมไปด้วยมุกตลก ความบันเทิงและเบาสมองเหมาะกับการพักผ่อนหย่อนใจอย่างมากโดยในแต่ละมุกนั้นก็มีการดัดแปลงให้เข้ากับยุคสมัยไปด้วย ซึ่งก็ถือว่ายังคงเป็นการ์ตูนที่ครองใจทุกช่วงวัยของประชาชนชาวไทยอยู่เสมอ
โดยการ์ตูนขายหัวเราะเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2516 โดยจะขายควบคู่กันระหว่างขายหัวเราะและมหาสนุก ในหนังสือนั้นจะประกอบไปด้วยแก๊กสามช่องจบของนักเขียนหลายๆคนสลับกันไปโดยแทรกด้วยมุกตลกสั้นๆและเรื่องสั้นสามเรื่องสำหรับขายหัวเราะ แต่ในมหาสนุกจะเป็นการ์ตูนสั้นหนึ่งตอน แต่เดิมนั้นหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะจะมีขนาดเท่า A4 แต่ต่อมาในปี 2529 ได้เปลี่ยนมาเป็นขนาด B5 แทนเพื่อให้พกพาง่ายขึ้นแต่ในตอนนั้นยังคงมีทั้งสองไซส์จนสุดท้ายก็เหลือเพียงเล่มเล็กแบบในปัจจุบันเท่านั้น
ผู้ก่อตั้งคือนายบันลือ อุตสาหจิต โดยต่อมามีนายวิธิต อุตสาหจิต หรือบก.กวิติ๊ดที่มักถูกนำมาล้อเลียนบ่อยๆในการ์ตูน บุตรชายคนแรกเป็นผู้สืบทอดเจตนารมณ์ต่อและทำให้การ์ตูนขายหัวเราะเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากยิ่งขึ้น ในขณะที่การ์ตูนอื่นๆต่างพากันล้มหายตายจาก รวมถึงวงการนิตยสารแต่ขายหัวเราะกลับมีรายได้ที่ดีขึ้นผกผันกับคนอื่นซึ่งก็ถือว่าประสบผลสำเร็จมากทีเดียว และยิ่งเดี๋ยวนี้มีทั้งแอพพลิเคชั่น รวมถึงการเข้าถึงง่ายดายทั้งเว็บไซต์ เฟสบุ๊คและทวิตเตอร์ก็ยิ่งขยายวงแฟนๆมากขึ้นไปอีก
นอกจากการ์ตูนแล้วเรื่องสั้นของสำนักพิมพ์ก็ดังมากเช่นกันจนมีหนังสือของนักเขียนนั้นๆออกวางจำหน่ายอีกด้วย ในส่วนของการ์ตูนเองก็มีเรื่องยาวออกมาเช่นกันไม่ว่าจะเป็นต้นฉบับแบบปังปอนด์หรือหนูหิ่นที่ดังๆและน่าติดตาม หรือจะเป็นการนำวรรณคดีอันทรงคุณค่ามาถ่ายทอดให้อ่านง่ายๆแบบการ์ตูนก็มี ทั้งรามเกียรติ์ รามายณะและสามก๊ก ต่างเป็นการ์ตูนชุดที่ขายดีสุดๆเพราะอ่านง่ายเข้าใจง่ายกว่าแบบหนังสือเป็นไหนๆ อีกทั้งเนื้อหาก็ครบถ้วน แทรกสอดมุกตลกที่ทำให้ผ่อนคลายไม่เครียดมากนักกับการอ่าน
คราวนี้มาทำความรู้จักกับนักเขียนดังๆที่ยังอยู่กับขายหัวเราะกันบ้าง
วัฒนา เพ็ชรสุวรรณ์(ตาโต)
แฟนๆนิยมเรียกว่าอาวัฒน์ เป็นนักเขียนการ์ตูนที่อายุมากที่สุดที่ยังคงอยู่กับขายหัวเราะ เรามักจะเห็นลายเส้นของเขาในหน้าปกและในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐบ้าง

ขายหัวเราะ การ์ตูนไทยในหัวใจใครหลายคน
ภักดี แสนทวีสุข(ต่าย,ภักดู,เต่ย)
ต่าย ขายหัวเราะผู้บุกเบิกการ์ตูนขายหัวเราะเลยก็ว่าได้เพราะเข้าทำงานตั้งแต่ปีพ.ศ.2522จนถึงบัดนี้ ด้วยลายเส้นที่เป็นเอกลักษณ์รวมถึงมุกตลกที่ไม่ได้เสียดสีมากไปจึงเหมาะกับเด็กๆ เขาได้ออกการ์ตูนเกี่ยวกับลูกชายของเขาที่มีเรื่องป่วนๆมาให้ได้ติดตามถึงแม้จะหยุดเขียนไปพักหนึ่งแต่ก็ยังเห็นได้บ้างตามการ์ตูนแก๊กสามช่อง

ขายหัวเราะ การ์ตูนไทยในหัวใจใครหลายคน
นิพนธ์ เสงี่ยมศักดิ์(นิค)
เราๆคงจำกันได้เมื่อเห็นการ์ตูนหนุ่มผมยาวเลยหูมานิดหน่อยกับหุ่นท้วมๆ ด้วยเนื้อเรื่องที่มักชอบเสียดสีสังคมและการเมืองหน่อยๆ โดยเขามีเรื่องสั้นเป็นของตัวเองที่ดังๆคือเรื่อง ‘คนอลเวง’ ‘พีพีไอ้ตี๋ซ่า’ ‘เรียกข้าว่าพญายม’

ขายหัวเราะ การ์ตูนไทยในหัวใจใครหลายคน
สุพล เมนาคม(ต้อม)
ต้อม ขายหัวเราะผู้ที่เราคุ้นเคยลายเส้นจากหน้าปกของมหาสนุกในขณะที่อาวัฒน์เป็นคนวาดหน้าปกขายหัวเราะเสียส่วนมากนั่นเอง โดยเขามีการ์ตูนเป็นของตัวเองคือไก่ย่างวัลลภซึ่งต่อมาได้มาเป็นซีรีส์ วิลลี่ เดอะ ชิกเก้น

ขายหัวเราะ การ์ตูนไทยในหัวใจใครหลายคน
อารีเฟน ฮะซานี(เฟน)
ผู้ถ่ายทอดวรรณคดีไทยอันงดงามให้เข้าใจง่ายขึ้น เขาได้วาดทั้งรามเกียรติ์ รามายณะรวมถึงเทพนิยายกรีกที่ยังไม่ได้มีการรวมเล่มด้วย ซึ่งสามารถถ่ายทอดตำนานทั้งหลายให้เข้าใจง่ายขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ นอกจากนั้นแล้วยังมีสาวดอกไม้กับนายกล้วยไข่ ยุคเก่าๆคือการนำละครดังมาดัดแปลงให้มีเนื้อเรื่องผิดแผกไป รวมถึงเปาปุ้นจิ้น บริษัทกำจัดผี มโหสถและแก้วหน้าม้าด้วย

ขายหัวเราะ การ์ตูนไทยในหัวใจใครหลายคน
ศุภมิตร จันทร์แจ่ม(ปุ๋ย เดวิล)
ถ้าพูดถึงการ์ตูนผีตลกๆก็ต้องนึกถึงคนนี้เลยกับลายเส้นบางๆอ่านง่ายและมุกตลกที่ไม่ซ้ำใคร โดยมีตัวดำเนินเรื่องเป็นหนุ่มหัวเถิกและแกงค์เพื่อนๆของเขา เค้าโครงเรื่องผีนั้นก็มาจากนิยายสยองขวัญยอดนิยมของเหม เวชกรนั่นเองซึ่งเรื่องก็มีการหักมุมในหลายๆเรื่องยิ่งประกอบกับมุกตลกก็ยิ่งทำให้อ่านง่ายและสนุกหลากหลายอารมณ์

ขายหัวเราะ การ์ตูนไทยในหัวใจใครหลายคน
ผดุง ไกรศรี(เอ๊าะ)
ใครๆก็ต้องรู้จักนักเขียนคนนี้เพราะนอกจากมุกตลกสุดฮาแล้ว การ์ตูนของเขายังได้ทำเป็นภาพยนตร์อีกด้วย หนูหิ่น อินเตอร์เรื่องราวของสาวน้อยจากอีสานที่ได้มาทำงานบ้านคุณหนูสวย รวม เชิ่ดที่มักจะมีเรื่องป่วนๆมากมายนั่นเอง และด้วยความที่ค่อนข้างสนิทกับต่ายและนิคมากเป็นพิเศษ ทั้งสามจึงมักโผล่ไปแจมในการ์ตูนช่องของกันและกันอยู่บ่อยๆครั้งในรูปแบบลายเส้นของเจ้าของผลงานนั่นเอง

ขายหัวเราะ การ์ตูนไทยในหัวใจใครหลายคน
สุชาติ พรหมรุ่งโรจน์(หมู นินจา)
นักเขียนคนสุดท้ายที่จะกล่าวถึง ผลงานอันน่าจดจำของเขาคือสามก๊กที่สามารถถ่ายทอดได้อย่างเรียบง่าย ไม่ว่าจะแผนการที่ดูซับซ้อนในแบบตัวหนังสือกลับถูกวาดออกมาได้อย่างเข้าใจง่ายดาย น่าเสียดายที่เขาพึ่งจะเสียชีวิตไปในปีพ.ศ.2560 ทิ้งไว้เพียงผลงานที่เข้าขั้นเป็นตำนานของวงการการ์ตูนไทย

ขายหัวเราะ การ์ตูนไทยในหัวใจใครหลายคน
จากบทความนี้ทำให้เห็นว่าจริงๆแล้ววงการการ์ตูนไทยและการรับทำการ์ตูนไทยเองไม่ได้แย่ลงเสมอไป แต่คนไทยนั้นนิยมอ่านการ์ตูนตลกมากกว่าอะไรที่มีอ่านยากๆ จึงเป็นที่มาของความรุ่งเรืองยิ่งขึ้นของขายหัวเราะที่อยู่กับเรามาหลายสิบปีและจะยังคงอยู่ต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก