พากย์ไทย พากย์กันอย่างไร

Published

January 18, 2018

Share MEE

รับทำแอนิเมชั่น-Mr.mee studio-224-01

พากย์ไทย พากย์กันอย่างไร

หลังจากพูดถึงการรับทำแอนิเมชั่นมามากพอสมควรแล้ว ไม่ว่าจะหัวข้อการนำการ์ตูนมาทำเป็นแอนิเมชั่นหรือนำการ์ตูนมาเป็นหนัง สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการพากย์เสียงนี่ล่ะที่หลายๆคนมักจะมองข้ามไปจนกระทั่งถึงตอนดูแล้วถึงได้รู้ว่าพลาดอย่างมาก วันนี้เรามาพูดถึงการพากย์เสียงแบบไทยๆกันดีกว่าว่ามันเริ่มต้นเป็นมายังไงกัน รวมถึงความสำคัญของมันว่ามันดีกว่าเสียงต้นฉบับจริงไหมนะ

การพากย์เสียงไทยถามว่าสำคัญหรือไม่?

เอาง่ายๆเลยคือ...ไม่ใช่คนไทยทุกคนที่สามารถฟังภาษาอังกฤษหรือภาษาที่3 ได้อย่างคล่องแคล่วรวมถึงหลายๆคนก็อ่านหนังสือไม่ได้อีกด้วย จึงสำคัญอย่างมากสำหรับการพากย์เสียงลงในหนังหรือแอนิเมชั่นต่างๆ ถึงอย่างนั้นจุดสำคัญของการพากย์เสียงคืออารมณ์ต้องถึง ฉากแบบตัวละครตะโกนจะมาทำเสียงอ่อนๆเก๊กหล่อก็ไม่ใช่อีก ซึ่งนักพากย์ไทยหลายๆคนเป็นแบบนั้นคนจึงไม่ค่อยสนับสนุนงานพากย์ไทยเท่าไหร่หากไม่ใช่คนที่ฟังอังกฤษไม่ออก แต่ก็ใช่ว่าวงการพากย์จะไม่มีพัฒนาการเลยเพราะยิ่งผ่านไปดูเหมือนงานก็ยิ่งดีขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน

การพากย์เสียงนั้นมีสองแบบ

การพากย์เสียง (voice-over)

เป็นรูปแบบการทำเสียงพากย์ ซึ่งเป็นการอัดเสียงต้นฉบับโดยนักพากย์อาชีพ นักพากย์มือสมัครเล่น และนักแสดงอาชีพ ที่มีการอัดเสียงต้นฉบับไว้โดยยังไม่มีการทับเสียงพากย์ใหม่ นักพากย์ต้องทำตนเปรียบเสมือนเป็นนักแสดงอยู่ด้วยเช่นกัน

มักจะใช้ในรายการสารคดี หรือบทบรรยายก่อนหน้าภาพยนตร์เริ่ม อย่างเช่นในตัวอย่างนี้จะถือว่าเป็นการ Voice-over

การพากย์เสียงทับ (dubbing)

หมายถึงการอัดเสียงทับใหม่ เป็นการอัดเสียงทับเสียงต้นฉบับเพื่อไปเป็นเสียงพากย์ในภาษาอื่น ซึ่งนักพากย์หรือนักแสดงมาอ่านบทแล้วเข้าห้องอัดเสียงเพื่อบันทึกเสียง ส่วนมากจะเป็น การ์ตูน/อานิเมะ ซีรีส์ที่ฉายทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ต่างประเทศ คำว่า dub ในความหมายปัจจุบันคือการพากย์ทั่วไป ตัวอย่างจากแอนิเมชั่นจริงจากเรื่องมู่หลานภาค 2

Dubbing ก็ยังมีแบ่งไปอีกว่าจะเป็น Fan dub ที่แฟนๆพากย์ใส่กันเองกับ Dub parody ชื่อพากย์นรกแบบไทยๆที่ชอบนำมาพากย์ตลกๆขำๆแทนเนื้อเรื่องจริงเป็นต้น

สำหรับความเป็นมาของการพากย์เสียงในไทยนั้นบ่งบอกไม่ได้ น่าจะมีมาตั้งแต่ต้นแล้วเพราะในสมัยก่อนเวลาทำภาพยนตร์ก็ต้องอัดเสียงทับอีกทีไม่ได้ใช้ไมค์แบบที่ทุกวันนี้ใช้ลักษณะก็จะคล้ายๆกับการพากย์แอนิเมชั่นที่จะมีบทมาให้รวมถึงบ่งบอกอารมณ์ในประโยคนั้นๆมาให้แล้วต้องพยายามแสดงอารมณ์ออกมาให้ถูกต้องตามนั้น

จะเห็นว่าคนพากย์เองยังต้องแสดงท่าทางและสีหน้าตามบทบาทในตอนนั้นเพื่อที่จะได้แสดงออกมาทางเสียงได้ตรงที่สุด

ไหนๆก็พูดถึงเรื่องพากย์เสียงแล้วก็มาดูการทำซาวน์เอฟเฟ็คกันเสียหน่อย

เริ่มมาจากนายแจ๊ค โฟลี่ย์ตั้งแต่ปี 1920 ที่เริ่มเป็นคนคิดค้นการใส่เสียงซาวน์เอฟเฟ็คต่างๆลงไปในภาพยนตร์ให้สมจริงมากยิ่งขึ้น โดยจะใช้วัสดุรอบตัวที่ไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่เหมือนกับในภาพเลยก็ได้ อย่างเช่นฉากเดินย่ำหิมะก็ใช้เป็นทรายชื้นๆแทน ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องหาอะไรที่ใกล้เคียงที่สุดมานั่นเอง

สำหรับการพากย์เสียงนั้นจะให้ออกมาดีที่สุดก็ต้องแสดงอารมณ์ออกมาตามตัวละครที่เราพากย์ไม่ว่าจะในการรับทำแอนิเมชั่นหรือในทำภาพยนตร์ จะว่าคล้ายกันกับซาวน์เอฟเฟ็คก็ใช่ตรงที่ต้องทำให้สมจริงมากที่สุดแต่การพากย์นั้นอาจจะต้องใช้เสียงที่โอเวอร์ขึ้นนิดๆเพื่อไม่ให้ดูน่าเบื่อจนเกินไป รวมถึงทำให้ตัวภาพยนตร์และแอนิเมชั่นมีความสนุกน่าติดตามมากขึ้นนั่นเอง ฉะนั้นแล้วการให้เสียงก็เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกดูไม่เลือกดูของผู้บริโภคเช่นกัน

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
http://th.thaivoiceactor.wikia.com

Contact Mee:

Copyright 2016 Mr. Mee Studio ©  All Rights Reserved

    Reach Mee: